เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566 ในการประชุมพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำเดือน มีนาคม 2566 ในระเบียบวาระที่ 4 การเสริมสร้างจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น โดย นายวชิร ดวงแสงทอง นายกเทศมนตรี ได้เป็นผู้นำแจ้งต่อพนักงานทุกคนที่เข้าร่วมประชุม ว่า… “…ด้วยได้มีประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม 2565 ได้กำหนดจริยธรรมสำหรับเจ้าพนังานส่วนท้องถิ่นพึงปฏิบัติตน โดยเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลเมืองพาน จะต้องยึดถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างมาตรฐานจริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้เป็นไปตามให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นเทศบาลตำบลเมืองพานจึงได้กำหนด<แนวปฏิบัติ Do’s & Don’t ของเทศบาลฯ> เพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมสีเทาและเป็นแนวทางในการประพฤติตนทางจริยธรรม ทั้งนี้ มีรายละเอียดของจริยธรรมฯ ที่พนักงานทุกท่านต้องถือปฏิบัติ กล่าวคือ….”
” …-พนักงานส่วนท้องถิ่นในที่นี้หมายถึง ข้าราชการ ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นในเทศบาลตำบลเมืองพานทุกคน โดยให้พึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้
-ก. จริยธรรมหลัก
(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีและเทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
(2) ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส และมีจิตสำนึกที่ดี
(3) กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และกล้าแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือเสนอให้มีการลงโทษผู้ที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง
(4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ โดยการใช้ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุสภาพร่างกาย สถานะของบุคคลหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ด้วยการรักษาเกียรติศักดิ์ของความเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-ข. จริยธรรมทั่วไป
(1) ยึดมั่นธรรมาภิบาลและอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
(2) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า และระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหาย
(3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุภาพ เรียบร้อย และมีอัธยาศัยที่ดี
(4) มุ่งบริการประชาชน และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยความเป็นธรรม รวดเร็ว เสมอภาค และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(5) จัดทำบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะ ต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(6) ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงแก่ประชาชนอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือน
(7) เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
(8) ไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
(9) ต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา และไม่กระทำการเลี่ยงประมวลจริยธรรมนี้
– หากพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ นอกจากจะต้องรักษาจริยธรรมตามประกาศนี้แล้วจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นด้วย
– ดังนั้นเมื่อทุกคนได้ทราบถึงจริยธรรมที่พึงต้องปฏิบัติแล้ว จึงขอให้พนักงานทุกท่านยึดถือรักษาจริยธรรมไว้อย่างเคร่งครับ นอกจากนี้ยังต้องรักษาวินัยของพนักงานเทศบาลด้วย ในการนี้ก็ต้องขอฝากปลัด และหัวหน้าสำนักปลัด ผอ.กอง ทุกกอง ได้ช่วยกันกำกับดูแลพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ภายใต้จริยธรรมนี้ด้วย ขอบคุณครับ….”