ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลเมืองพาน
สภาพทั่วไป
- ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต
- เทศบาลตำบลเมืองพานมีพื้นที่ประมาณ 2.386 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะพื้นที่ยาวขนานไปกับถนนพหลโยธินโดยเริ่มตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 903 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 782 ความยาวด้านทิศเหนือจดทิศใต้ 2.80 กิโลเมตร ความยาวด้านทิศตะวันออกจดทิศตะวันตก ยาว 1.25 กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 12 ,หมู่ที่16 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 8 และหมู่ที่17 ซึ่งเทศบาลตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากที่ตั้งของตัวจังหวัดเชียงราย ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากที่ตั้งของจังหวัดพะเยาประมาณ 46 กิโลเมตร ระยะทางจากเทศบาลตำบลเมืองพานถึงกรุงเทพมหานคร ประมาณ 782 กิโลเมตร
- อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านใหม่จอมแว่,บ้านดอยดอนตัน
- ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านป่ากว๋าวเหนือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านเด่นและบ้านทุ่ง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองบัว
- สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
- เป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีลำน้ำแม่ส้านไหลผ่านเข้ามาในเขตเทศบาล ในอดีตเป็นพื้นที่การเกษตรปลูกข้าวและพืชผักผลไม้ แต่ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรกรรมได้ลดจำนวนลงเนื่องจากมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางคมนาคม และขนส่งที่สะดวกทำให้ประชาชนหันมาประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างมากขึ้น
- ลักษณะภูมิอากาศ
- สภาพอากาศเป็นเขตร้อนชื้น อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 24 – 43 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 58.50 มม./ปี
- สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม
- สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้าง สำหรับสภาพสังคมเป็นสังคมชนบทกึ่งเมือง มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม/ขนส่ง
- การคมนาคมติดต่อระหว่างเทศบาล อำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในเขตเทศบาลใช้เส้นทางการขนส่งทางบก โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
- ทางหลวงชนบท
- สำหรับเส้นทางคมนาคมในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นถนนคอนกรีต
การไฟฟ้า
- มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 3,010 ครัวเรือน
การประปา
- มีครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา จำนวน 4,056ครัวเรือน ปริมาณการใช้น้ำประปา
จำนวน 38 ลบ.ม./เดือน และมีบางส่วนยังใช้บ่อน้ำตื้น และน้ำบาดาล
การสื่อสารและโทรคมนาคม
- ในพื้นที่เขตเทศบาล ได้รับบริการการสื่อสารจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด มหาชน
บริษัท TOTจำกัด มหาชนและอินเตอร์เน็ต จำนวน 2,350 ครัวเรือน ใช้บริการบริษัท TT&T จำกัด ข่ายวิทยุสื่อสารของเทศบาลและการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
การจราจร
- เทศบาลประสานความร่วมมือกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอพาน เกี่ยวกับการจัดระบบจราจรในเขตเทศบาล โดยเทศบาลจะสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำป้ายสัญญาณจราจร อุปกรณ์ต่างๆให้ประชาชนและผู้ที่สัญจรไปมาได้มองเห็นชัดเจน สามารถลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
การใช้ที่ดิน
- ได้มีการวางแผนการใช้ที่ดินให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่สภาพความเจริญกับท้องถิ่นทั้งนี้ จะได้ประสานขอความร่วมมือจากสำนักผังเมืองจังหวัดเชียงราย เพื่อกำหนดผังเมืองรวมเขตเทศบาลตำบลเมืองพานต่อไป
ด้านเศรษฐกิจ
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร
- ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง โดยมีรายได้ต่อหัวประชากร 120,000บาท/คน/ปี
- การเกษตรกรรม
- มีการประกอบการเกษตรกรรม จากผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 15 ราย
- การอุตสาหกรรม
- มีการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาทิเช่นโรงงานทำขนมจีน,โรงงานผลิตน้ำแข็ง เป็นต้น
- การพาณิชยกรรม/การบริการ
- การพาณิชย์
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง
- มีธนาคาร จำนวน 7 แห่ง
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน
2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด มหาชน
4. ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6. ธนาคารไทยพาณิชย์
7. ธนาคารกสิกรไทย - มีโรงรับจำนำ จำนวน 2 แห่ง ของเทศบาลจำนวน 1 แห่ง ของเอกชนจำนวน 1 แห่ง
- การบริการ
- มีโรงแรม จำนวน 1 แห่ง
- มีสถานบริการ จำนวน 2 แห่ง
- การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในเขตเทศบาลได้แก่ วัดม่วงชุม วัดเทพวัน วัดเกตุแก้ว วัดป่าซาง และที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอพาน ได้แก่ น้ำตกปูแกง , บ่อน้ำร้อนทรายขาว ,ถ้ำผาโขงหรือถ้ำน้ำลอด,ถ้ำผายาว,หนองถ้ำหรือหนองผา วัดพระธาตุสามดวง และพระธาตุจอมแว่ ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล - การปศุสัตว์
มีการประกอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย- ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 1 แห่ง
- การพาณิชย์
ด้านสังคม
- จำนวนประชากรแยกตามเพศ
- จำนวนประชากรในเขตเทศบาล ทั้งสิ้น 6,682คน แยกเป็น
- ชาย 3,133 คน
- หญิง 3,549 คน
- จำนวนครัวเรือน3,377 ครัวเรือน (ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 )
- จำนวนประชากรแฝงในเขตเทศบาลมีประมาณ 4,500 คน
- จำนวนประชากรในเขตเทศบาล ทั้งสิ้น 6,682คน แยกเป็น
- การศึกษา ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
- การศึกษา
- ในพื้นที่เทศบาลมีโรงเรียนระดับอนุบาลจำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์เด็กเล็ก
ของเทศบาล 2 แห่ง คือ- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล 1 (บ้านเก่า) มีจำนวน ครู 1 คน จำนวนนักเรียน 12 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล 2 (วัดป่าซาง) มีจำนวนครู 2 คน จำนวนนักเรียน 17 คน
- โรงเรียนอนุบาลของเอกชน จำนวน 2 แห่ง คือ
- อนุบาลสายอรุณ มีจำนวนครู 3 คน จำนวนนักเรียน 24 คน
- อนุบาลศิริวัฒนาจำนวนครูผู้สอน 15 คน จำนวนนักเรียน 287 คน
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนของรัฐจำนวน 2 แห่ง
คือ- โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์มีจำนวนครู 47 คน จำนวนนักเรียน 788 คน
- โรงเรียนเทศบาล1(บ้านเก่า) มีจำนวนครู 21 คน จำนวนนักเรียน 614 คน
- โรงเรียนของเอกชนจำนวน 1 แห่ง คือ
- โรงเรียนวัฒนศึกษาจำนวนครู/อาจารย์ 45 คน จำนวนนักเรียน 878 คน
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย
- โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านเก่า)
- โรงเรียนวัฒนศึกษา
- ในพื้นที่เทศบาลมีโรงเรียนระดับอนุบาลจำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์เด็กเล็ก
- ศาสนา
- ประชาชนในเขตเทศบาลมีการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนา
อิสลาม แต่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ - ศาสนสถาน
มีจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย
1 ) วัดป่าซาง
2 ) วัดเทพวัน
3 ) วัดม่วงชุม
4 ) วัดเกตุแก้ว
5) โบสถ์คริสต์วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์
6) ศาลเจ้าปึงเฒ่ากง
- ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรม
1 ) ประเพณีสงกรานต์
2 ) ประเพณีแห่เทียนพรรษา
3 ) ประเพณีทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี
4 ) ประเพณีลอยกระทง
5 ) ตักบาตรเป็งพุธ
6 ) ตักบาตรขึ้นปีใหม่
7 ) ตักบาตรเทโว
8 ) ตานก๋วยสลาก
9) ทำบุญสืบชาตาเมือง
10) ถวายข้าวซอมต่อ
- ประชาชนในเขตเทศบาลมีการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนา
- การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลดังนี้
1 ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองพาน จำนวน 1 แห่ง
2 ) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
3 ) สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 7 แห่ง
4 ) ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 7 แห่ง
5 ) บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 22 คน - การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ
- การให้การสงเคราะห์ประชาชนได้รับการสงเคราะห์จากสำนักงานเทศบาล , กิ่งกาชาดอำเภอ,สโมสรโรตารี่พาน และมูลนิธิเมืองพานสงเคราะห์มูลนิธิการศึกษาอำเภอพาน
- มีสวนสุขภาพและลานกีฬาไว้สำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จำนวน 3แห่ง
- การศึกษา
เทศบาลตำบลเมืองพานได้ยกฐานะจากสุขภิบาลตำบลเมืองพาน มาเป็นเทศบาลตำบลเมืองพาน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542